image044

เข้าเรื่องกันดีกว่า พอดีในตอนที่แล้วบอกว่า EP.2จะมาเล่าเรื่อง "ใช้่ตาแล้ว...ไฟตัดทั้งบ้าน"เกิดจากอะไร แต่พอดีว่ามีคนทักมาถามเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้เยอะมาก จึงขอแทรกเรื่องนี้ก่อน แล้วขอติดเรื่อง "ใช้่ตาแล้ว...ไฟตัดทั้งบ้าน"เกิดจากอะไร ไว้ใน EP.ถัดไปก็แล้วกัน กลับมาที่เรื่อง "เตาแพงไฟก็แรงตามราคา...ไม่พาเสียอารมณ์" ที่เริ่มเรื่อง แล้วจั่วหัวขึ้นด้วยคำคม ก็ไม่มีอะไรมาก แค่อยากจะบอกว่าทุกอย่างมันก็มีเหตุผลของมัน ในEP.ที่แล้วเราพูดกันถึงเรื่องเกี่ยวกับ ดีไซน์ รูปลักษณ์ภายนอกว่ามันเป็นยังไง และสำคัญขนาดไหน ส่วน EP. นี้ก็ตามหัวเรื่องเลย “เตาแพงไฟก็แรงตามราคา...ไม่พาเสียอารมณ์” ที่ต้องขึ้นหัวแบบนี้เพราะมีลูกค้าหลายคนทักเข้ามาถามแอดมินว่า “ทำไมเตาแพงจังคะ นี่ราคานี้ซื้อข้างนอก ได้สองตัวเลยนะ“ มีคำถามประมาณนี้ทักเข้ามาในช่องอินบ๊อกเกือบทุกวัน ไม่ผิดครับ สิ่งที่เค้าพูดก็ไม่ผิด สิ่งที่เค้าคิดก็ไม่ผิด ถ้ามองกันแค่ราคา ก็คงเป็นประมาณนั้น แต่เราก็อธิบายจนทำให้ให้คุณลูกค้าเข้าใจ และเชื่อมั้ยว่า พอเราอธิบายเสร็จคุณลูกค้าที่น่ารัก ก็สั่งสินค้าของเราเพราะเขาเข้าใจในสิ่งที่เราอธิบายแล้ว

คราวนี้มาดูกันว่าเราอธิบายอะไรให้ลูกค้าฟัง และอะไรที่ทำให้เตาเราแพง และอะไรที่เปลี่ยนความเข้าใจใหม่ให้ลูกค้า....เนื่องจากถ้ามองในท้องตลาดแล้ว เตาแม่เหล็กไฟฟ้าที่วางขายอยู่มีตั้งแต่หลักร้อย ไปจนถึงหลักหลายหมื่น แล้วอะไรกันนะ ที่ทำให้ช่วงราคาของสินค้าประเภทนี้ กว้างและแตกต่างกันซะเหลือเกิน ที่น่าตกใจคือสินค้าที่เป็นช่วงหลักร้อยนั้น ไม่ใช้ 8-9ร้อย แต่มันต่ำขนาดที่ 3-4 ร้อยก็มีขายด้วย แอดมินแอบนึกในใจว่า “เอาอะไรมาทำเนี๊ยะ” เคยลองแอบซื้อ เอามาแกะดูด้วยความอยากรู้ (แต่จริงๆก็รู้อยู่แล้วแหล่ะ55) ตอนยังไม่แกะก็งงว่าขายได้ยังไง พอแกะออกมาปุ๊บ ยิ่งงงหนักเลยว่ากล้าขายได้ยังไง มีนะ!!!... มีที่งงกว่านั้นอีก คือ...มีคนกล้าซื้อไปใช้ จึงเป็นเหตุผลที่เราต้องออกมาอธิบายใน EP.นี้

สินค้าแพงก็ตามหัวข้อเลย คือ...ไฟก็แรงตามราคา ซึ่งเป็นข้อสำคัญลำดับแรกๆเลย ที่เราควรสนใจ และปัจจัยหลักที่ทำให้ความแรงของไฟไม่เท่ากันในแต่ละช่วงราคา คือกำลังวัตต์ และเตาแม่เหล็กไฟฟ้าในท้องตลาดก็มีกำลังวัตต์ตั้งแต่ 500 / 1000 / 1200 / 1500 / 1800 / 2000 / 2100 / 2300 / 2800 / 3000 / 3500 / 5000 วัตต์ และอาจมีที่สูงกว่านั้น ที่เป็นรุ่นเฉพาะในแต่ละอุสาหกรรม ซึ่งการใช้แผงวงจรในการควบคุมความแรงก็มีขนาดและการออกแบบที่ไม่เหมือนกัน ขดลวดที่ใช้ภายในก็มีขนาดที่ไม่เท่ากัน

แรงตรง...ทุกระดับ คือเตาแม่เหล็กไฟฟ้าในแต่ละรุ่น เช่น รุ่นที่มีกำลังไฟ 2000วัตต์ มันก็ไม่ใช่ว่าเปิดมาแล้วก็ 2000 วัตต์แบบปรับ เพิ่ม – หรือลดไม่ได้ เพราะถ้า 2000 วัตต์ แล้วทอดไข่ดาวสักฟอง แล้วปรับเบากำลังไฟไม่ได้ ไข่ดาวของเรา มันก็จะกลายเป็นไข่ดำคุโรบุตะ ในพริบตา 555 เตาที่ดีมันจะต้องปรับ เพิ่ม - ลดกำลังไฟได้ คราวนี้มันก็จะต้องมีวงจรที่เข้าไปควบคุมกำลังไฟ หรือควบคุมการทำงานของช่วงเวลา ติด - ดับ ของการปล่อยกระแสสนามแม่เหล็ก เพื่อให้ความร้อนที่เกิดกับภาชนะนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมในช่วงอุณหภูมินั้น เช่นเตาเรา มีกำลังไฟ 2000วัตต์ ปรับได้ 11 ระดับ อาจจะเริ่มตั้งแต่ 100 / 200 / 400 / 600 / 800 / 1000 / 1200 / 1400 / 1600 / 1800 / 2000 วัตต์เป็นต้น นี่คือสิ่งที่ควรจะเป็นและมีในเตาแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีมาตรฐาน คราวนี้เจ้าพวกเตาถูกๆ หรือที่ไม่ได้มาตรฐาน เค้าจะทำยังไงถึงจะขายได้ในราคาถูก จากประสบการณ์ที่พบเจอ คือ บางแบรนด์ หรือพวกเตาที่ไม่มีแบรนด์ จะทำก็คือ...มีแหล่ะ11 ระดับ “ลื้อมีได้...อั้วก็มีได้” เค้าก็จะใช้วิธี เช่น ระดับที่ 1 กำลังไฟ 100 วัตต์ ระดับ2 ก็200 วัตต์ ระดับ 3 ก็400 วัตต์ ต่อจากนั้น ระดับ 4 ถึง 11 ก็กระโดดไปที่ ประมาณ 1800 วัตต์เลย ปรับแบบไหนก็ 1800 ถ้าสังเกตดู ที่แย่ไปกว่านั้นคือ...ไปไม่ถึง 2000 วัตต์ตามที่กล่าวอ้างอีกด้วย คราวนี้ถ้าลูกค้าที่ซื้อไปใช้ ถามว่าเค้าจะรู้มั้ย ก็คงไม่รู้ เพราะมันมองไม่เห็นด้วยตา เพราะตัวเลขที่โชว์ขึ้นบนหน้าเตา ก็ไล่ระดับตามปกติ แต่ ๆ ๆ .... แต่กำลังวัตต์จริงๆนั้น ไม่ได้ตามมาด้วย เราแบรนด์ออคิด ผู้ที่อยู่ในวงการนี้มาอย่างยาวนาน กว่า 30ปี เทสมาแล้วแทบทุกรุ่น ทุกแบรนด์ โดยใช้เครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์ วัดมาแล้ว ส่วนท่านที่เป็นช่าง หรือพอจะมีความรู้จะทดลองวัดดูบ้างก็ได้ และเชื่อมั้ย!!! มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ แทบจะทั้งนั้น ในรุ่นราคาต่ำๆ หรือรุ่นที่ไม่มีแบรนด์...หรือบางแบรนด์ก็แอบมีหมกเม็ดเหมือนกัน

ไฟไม่ตัด...ให้ขัดใจ ในลักษณะการทำงานทั่วไป ของเตาแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีคุณภาพสูง จะมีวงจรตัดไฟอัตโนมัติอยู่แล้ว เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน คือเครื่องทำงานผิดปกติ หรือมีความร้อนสูงเกินไป เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น เช่นตั้งหม้อหรือภาชนะทิ้งไว้บนเตา แล้วลืมปิด จนอาหาร แห้งและเริ่มไหม้ช่วงเวลานี้ ภาชนะจะมีควาร้อนสะสมที่สูงมาก มากจนบางครั้งเราจะมองเห็นภาชนะแดงวาบขึ้นบริเวณก้นภาชนะได้เลย อุณหภูมิจะสูงอาจจะเลยไปถึง 300องศาเลยทีเดียวจังหวะนี้ถ้าเตารุ่นถูกๆที่หน้าเพลทไม่ใช่กระจกทนความร้อน หน้าเพลทมันก็จะแตกหรือระเบิดก่อน แต่ถ้าหน้าเพลทที่เป็นกระจกทนความร้อนได้ มันจะส่งความร้อนสะท้อนและร้อนระอุเข้าไปภายในตัวเครื่อง เมื่อเซ็นเซอร์ตรวจจับความร้อนที่ผิดปกติ มันจะสั่งให้เตาหยุดการทำงานทันที แล้วไอ้อาการไฟตัดบ่อย กวนใจเวลาทำอาหารมันเกิดจากอะไร!!! คือพอวงจรที่ใช้ควบคุมไม่ได้คุณภาพ หรือกำลังไฟไม่นิ่ง มีการแกว่งๆ ขึ้นๆลงๆ มันก็ตัด เอะอะๆ ก็ตัด และอีกสาเหตุคือ การระบายความร้อนภายในตัวเครื่องไม่ดี การออกแบบ ทิศทางการเข้า - ออกของอากาศ ไม่เป็นไปอย่างถูกต้อง ก็เกิดความร้อนสะสมได้เช่นกัน แล้วมันก็....ตัดเลย ตัดเลย ชับ ๆ ๆ555 และยังส่งผลระยะยาวให้กับอุปกรณ์ภายในเสื่อมสภาพเร็วขึ้นด้วย..... EP.นี้พยายามว่าจะไม่ให้ยาวมาก ก็ยังทำไม่ได้ ขอขอบพระคุณสำหรับการอ่านมาจนถึงตรงนี้ และหวังว่าลูกค้าที่สนใจจะเลือกหาเตาแม่เหล็กไฟฟ้าดีๆ มาใช้สักตัว ข้อให้พิจารณาให้ดีๆ ส่วนจะเลือกใช้แบรนด์ไหนนั้นไม่สำคัญ ขอแค่เป็นแบรนด์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานก็พอ และถ้าไม่รู้ว่าแบรนด์ไหนดี ก็ฝากแบรนด์ ออคิดไว้พิจารณาเป็นอีก 1 ทางเลือก เพราะ 30กว่าปีของเรา เราอยู่มาได้ด้วยคำว่า สินค้าคุณภาพ ปลอดภัย ใช้ง่าย อึด ถึก ทน....